ศิลปะแบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classic)

คำว่า Neo แปลว่า ใหม่ หรือ New ส่วน Classic มาจากชื่อเรียกศิลปะกรีกยุคคลาสสิค ซึ่งเป็นยุคที่ศิลปะมีความสวยงามอย่างมาก ดังนั้นลักษณะของศิลปะแบบนีโอคลาสสิกจึงมีแนวคิด และการสร้างงานลอกเลียนจากศิลปะยุคโบราณแทบทุกอย่าง งานสถาปัตยกรรมยุคนีโอคลาสสิก พบมากในยุโรปและได้รับความนิยมมากในประเทศฝรั่งเศส

รูปลักษณะเด่นๆ ที่ยุคนีโอคลาสสิก นำมาใช้และสังเกตได้ เช่น 
1.Symmetrical shape (รูปร่างที่สมมาตร)
2.Tall Column that rise the full height of building หรือ Colonian (เสาที่สูงขึ้นไปจนเต็มความสูงอาคาร) 3.Triangular pediment (สามเหลี่ยมหน้าจั่วด้านหน้าอาคาร)
4.Domed roof (หลังคายอดโดม) 

ตัวอย่างสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากยุคนีโอคลาสสิก ได้แก่ ประตูชัยฝรั่งเศส ค.ศ.1806 เป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส อยู่ทางทิศตะวันตกของชองป์-เซลิเซ่ส์ แบบของประตูชัยนั้น ฌอง ชาลแกร็งเป็นผู้ออกแบบ ในรูปแบบศิลปะคลาสสิคใหม่ ที่ได้ดัดแปลงมาจากสถาปัตยกรรมโรมันโบราณ ช่างแกะสลักที่สำคัญของประเทศฝรั่งเศสนั้นก็ได้มีส่วนร่วมในรูปแกะสลักของประตูชัยฝรั่งเศสด้วย

 ด้านจิตรกรรมนั้น มีความเจริญอย่างมาก จิตรกรรมยุคนีโอคลาสสิกต่างๆ มักเป็นเนื้อหาที่ถ่ายทอดเป็นเรื่องราวตามเทพนิยายกรีก และมีเรื่องราวส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับสภาพสังคมและการปกครอง ตัวอย่างเช่น Oath Of The Horatii จิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ โดย จาค หลุยส์ เดวิด มีการจัดองค์ประกอบภาพเหมือนการแสดงละครบนเวทีและนิยมใช้ภาพสถาปัตยกรรมที่ใหญ่โต เป็นพื้นหลัง

 ภาพความตายของโสเครติส โดย เดวิด แสดงให้เห็นความสมจริงตามแบบตามองเห็น การกำหนดมิติ น้ำหนัก แสงเงา อาศัยอิทธิพลเดิมของศิลปะสมัยกลาง มีการนำลักษณะโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมสมัยกรีกและโรมันมาสร้างเป็นภาพพื้นหลัง แสดงเรื่องราวในสมัยกรีกและโรมัน แฝงไว้ด้วยความรักชาติ ความเสียสละ และความสำนึกผิดรับผิดชอบต่อประชาชน 

ด้านประติมากรรม มักลอกเลียนแบบประติมากรรมศิลปะกรีกและศิลปะโรมมัน ตัวอย่างเช่น ประติมากรรม จอร์จ วอชิงตันโดย โฮราติโอะ กรีนอฟ ในประเทศอเมริกา มีลักษณะคล้ายโสเครติส

 นอกจากศิลปะแบบ Neo-Classic แล้วนั้น ในสมัยใหม่ก็ยังมิศิลปะหลายๆแบบที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแบบ Baroque , Romantic , Realistic , Impressionism , Neo-Impressionism , Post-Impressionism ซึ่งมีความสำคัญและมีคุณค่าแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของสมัยใหม่.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น